Mu1

บทแนะนำโดยย่อ

ตั้งอยู่ด้านหลังของศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี ห่างจากศาลากลางประมาณ 200 เมตร เปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2528 ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมของโบราณวัตถุในเขต 7 จังหวัดภาคตะวันออกคือ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด และระยอง

ภายในมีการจัดแสดงโบราณวัตถุสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ที่ชาวบ้านเรียกว่า เมืองศรีมโหสถ ดงศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี อาทิ พระพุทธรูป เทวรูป ทับหลัง เครื่องใช้สำริด เป็นต้น และจัดแสดงศิลปะในประเทศไทยสมัยต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา เปรียบเทียบ รวมทั้งเครื่องถ้วยสังคโลกที่พบใต้ทะเลจากบริเวณเกาะคราม จังหวัดชลบุรี

นอกจากนั้น ยังจัดสถานที่ส่วนหนึ่งสำหรับนิทรรศการชั่วคราวในโอกาสต่างๆ ด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.(037) 211586

บทความเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ศูนย์รวมวัฒนธรรมภาคตะวันออก
(บทความจาก อนุสาร อ.ส.ท.)
สายสุนีย์ สิงหทัศน์…เรื่อง / สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์…ภาพ

ที่มา: http://www.siamganesh.com/osotho6.html

ดินแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมที่สำคัญในอดีตอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบด้วยพื้นที่ในเขตจังหวัดต่าง ๆ รวม ๗ จังหวัด คือ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และพื้นที่ใกล้เคียงอีก ๑ จังหวัด คือนครนายก ทั้งนี้เพราะที่ตั้งเมืองเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ กล่าวคือมีพื้นที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมติดต่อสะดวกทั้งทางบกและทางทะเล ส่งผลให้วัฒนธรรมของภาคนี้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

จากข้อมูลการสำรวจของนักโบราณคดี ทำให้ทราบว่าภูมิภาคแห่งนี้มีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ประกอบด้วยกลุ่มชนยุคแรกที่ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และกลุ่มชนยุคที่สองที่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม กลุ่มชนเหล่านี้อาศัยอยู่ตามเพิงผาและบนเขาสูง ตามบริเวณที่ราบเชิงเขา และตามบริเวณเนินดินชายฝั่งทะเลล้อมรอบด้วยป่าชายเลน แหล่งโบราณคดีในยุคนี้ที่เป็นที่รู้จัก คือ โคกพนมดีและหนองโน จังหวัดชลบุรี โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ Mu2ภาชนะดินเผา เครื่องมือหินขัดประเภทต่าง ๆ ลูกปัดทำด้วยกระดูกสันหลังปลา สร้อยคอลูกปัดเปลือกหอย กำไลและต่างหูทำจากหินอ่อน

ส่วนสมัยประวัติศาสตร์ในภูมิภาคนี้มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘ ได้พัฒนาการเป็น ๒ สายวัฒนธรรมด้วยกัน คือ วัฒนธรรมทวารวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ และวัฒนธรรมเขมร ระหว่างพุทธศตววษที่ ๑๑-๑๘ เมืองโบราณที่สำคัญ ๆ ในยุคนี้ที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง คือ เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เมืองดงละคร จังหวัดนครนายก เมืองพะเนียด หรืองเมืองกาไว จังหวัดจันทบุรี เมืองพระรถ เมืองศรีพะโล จังหวัดชลบุรี และปราสาทเขาน้อย จังหวัดสระแก้ว ซึ่งแต่ละเมืองมีคูเมือง กำแพงเมือง ซากสิ่งก่อสร้าง และโบราณวัตถุปรากฏเป็นพยานหลักฐานให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ประติมากรรมในทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ทับหลังปราสาทหิน และเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ

ปัจจุบันโบราณวัตถุที่ค้นพบทั้งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติ ศาสตร์ได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ถนนปราจีนอนุสรณ์ อำเภอเมืองฯ จะเปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมคนละ ๑๐ บาท

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทประวัติศาสตร์โบราณคดีประจำภูมิภาคตะวันออก เริ่มต้นตั้งแต่การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โดยเน้นการจัดแสดงที่เมืองศรีมโหส

Mu5

ถ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นสำคัญ

อาคารจัดแสดงเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างจัดแสดงห้องศิลปะโบราณคดี ห้องโบราณคดีเมืองนครนายก และห้องจัดนิทรรศการพิเศษ อาคารชั้นบนแบ่งเป็นห้องศิลปะโบราณคดีในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่ศิลปะทวารวดี ศรีวิชัย เขมร หรือลพบุรี สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ห้องโบราณคดีใต้น้ำแสดงถึงการปฏิบัติงานทางโบราณคดีใต้น้ำ เส้นทางเดินเรือและค้าขายสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุที่ได้จากท้องทะเล และห้องโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และพัฒนาการเป็นลำดับ จนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในที่สุด

โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก ชิ้นที่เด่นที่สุดในสายวัฒนธรรมทวารวดีอยู่ตรงทางเข้าภายในห้องจัดแสดง คือ ประติมากรรมลอยตัวรูปพระวิษณุจตุรภุช หรือพระวิษณุ ๔ กร ทำด้วยหินทราย สูง ๑๔๘ เซนติเมตร ศิลปะสมัยทวารวดี อายุประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ พบที่เมืองศรีมโหสถ ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางวัฒนธรรมภาคตะวันออก สมัยทวารวดี เป็นประติมากรรมรูปเคารพเทพเจ้าสูงสุดของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไว

พระวิษณุจตุรภุชองค์นี้ยืนหันหน้าตรง พระบาททั้งคู่เสมอกัน สลักติดกับฐานรูปครึ่งวงกลม พระหัตถ์บนทั้งสองหักหายไป พระหัตถ์ขวาล่างถือก้อนดิน (ธรณี) วางอยู่บนผ้าคาดโสณี (สะโพก) ซึ่งผูกเป็นโบอยู่ทางด้านขวา แล้วปล่อยชายยาวลงเบื้องล่างในพระหัตถ์ซ้ายล่างคว่ำวางอยู่บนคฑา (กระบอง) ซึ่งสลักเชื่อมติดกับฐาน ผ้าทรงเป็นผ้านุ่งยาวเหนือข้อพระบาท ขมวดเหน็บผ้าเป็นปมเล็ก ๆ ที่บั้นพระองค์ใต้พระนาภี จีบทบด้านหน้าแล้วปล่อยชายห้อยลง สวมศิราภรณ์เป็นหมวกทรงกระบอกและกุณฑล หรือห่วงกลม ซึ่งเป็นกุณฑลที่นิยมในศิลปะทวารวดีษณพ นิกาย อันเป็นนิกายที่เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

โบราณวัตถุที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสายวัฒนธรรมเขมร คือ เศียรพระหริหระ พบที่เมืองพะเนียดหรือเมืองกาไว ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ เมืองกาไวแห่งนี้เคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรโบราณมาก่อน

Mu4เศียรพระหริหระองค์นี้ เป็นการรวมตัวกันของพระศิวะและพระวิษณุ เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ในจำนวนที่มีอยู่ ๓ องค์ คือ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม ทำด้วยหินทรายมีวงโค้งเกือกม้ายึดติดอยู่ทางด้านหลังเป็นประติมากรรมแบบเก่า ที่สุดในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนันตอนปลาย เรียกว่า ศิลปะพนมดา อายุระหว่าง พ.ศ. ๑๐๘๐-๑๑๕๐ และมีอยู่ชิ้นเดียวในประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่น่าชมอีกหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะเขมรแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษ ๑๘ พบในบ่อน้ำหน้าอาคารรอยพระพุทธบาทMu3 โบราณสถานสระมรกต อำเภอศรีมโหสถ แผ่นภาพสลักเล่าเรื่องศิลปะเขมรแบบบาปวน พ.ศ. ๑๕๖๐-๑๖๓๐ ทำด้วยหินทรายแดง ขนาด ๕๖.๕ x ๖๙ เซนติเมตร พบที่วัดพะเนียด จังหวัดจันทบุรี ศูล หรือตรีศูล ศิลปะทวารวดี ทำด้วย

 

หินทราย สูง ๘๘ เซนติเมตร จากเมืองศรีมโหสถ และเศียรนาคสำริด ศิลปะเขมรแบบบายน อายุประมาณ พ.ศ. ๑๗๒๐-๑๗๗๓ รวมทั้งทับหลังศิลปะเขมรที่ยังมีลวดลายที่สมบูรณ์อีกหลายชิ้นด้วยกัน จึงอยากจะเชิญชวนผู้ไปท่องเที่ยวทางธรรมชาติของภาคตะวันออก หาโอกาสไปชมศิลปะโบราณวัตถุที่พิพธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ศูนย์รวมวัฒนธรรมภาคตะวันออก เพื่อให้เกิดความภูมิใจในแผ่นดินไทยว่ามีอารยธรรมเก่าแก่เพียงใด

เอกสารอ้างอิง
๑. ศิลปากร, กรม. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.
๒. ศิลปากร, กรม. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร (แผ่นพับ).

ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๘ เดือนมีนาคม ๒๕๔๕

ขอบคุณภาพประกอบจาก: http://www.siamganesh.com/osotho6.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *